ตัดแต่งกิ่งลำไยช่วงไหนดี?..มีคำตอบ
่ตัดแต่งกิ่งลำไย
จุดประสงค์ของการตัดแต่งกิ่งของต้นไม้ทุกชนิด ก็เพื่อให้เกิดการโปร่งแสง(แสงแดดสามารถส่องผ่านได้ เป็นประโยชน์ต่อพืชในด้านการสังเคราะห์แสง) อากาศถ่ายเทได้สะดวก และลดการคายน้ำครับ ในบทความนี้ผมขอแนะนำการตัดแต่งกิ่งลำไย เพื่อช่วยให้เกิดทรงพุ่มโปร่งแสง สะดวกในการดูแล อีกทั้งยังป้องกันต้นลำไยโค่นล้มจากลมหรือพายุ และช่วยให้ลำไยมีผลดก ให้ผลอย่างสม่ำเสมอทุกปี
จุดประสงค์ของการตัดแต่งกิ่งของต้นไม้ทุกชนิด ก็เพื่อให้เกิดการโปร่งแสง(แสงแดดสามารถส่องผ่านได้ เป็นประโยชน์ต่อพืชในด้านการสังเคราะห์แสง) อากาศถ่ายเทได้สะดวก และลดการคายน้ำครับ ในบทความนี้ผมขอแนะนำการตัดแต่งกิ่งลำไย เพื่อช่วยให้เกิดทรงพุ่มโปร่งแสง สะดวกในการดูแล อีกทั้งยังป้องกันต้นลำไยโค่นล้มจากลมหรือพายุ และช่วยให้ลำไยมีผลดก ให้ผลอย่างสม่ำเสมอทุกปี
การตัดแต่งกิ่งลำไยมี 2 กรณีด้วยกัน คือ
1.ตัดแต่งกิ่งประจำปี
คือเกษตรกรจะตัดแต่งกิ่งลำไยหลังจากเก็บผลผลิตจำหน่ายแล้ว โดยจะตัดกิ่งที่หักหรือไม่สมบูรณ์ก่อน หากเห็นว่ากิ่งใดไม่ออกดอกผลแล้วให้ตัดชิดโคนกิ่ง ส่วนกิ่งที่ต้องการให้แตกยอดใหม่
หลังจากเก็บผลผลิตแล้วให้ตัดเหลือไว้ให้ยาวประมาณ15-30 เซนติเมตร หรือมากกว่า ส่วนกิ่งที่สมควรตัดออกเสียก็คือกิ่งที่ไม่แข็งแรงและกิ่งกระโดง เกษตรกรควรตัดให้ชิดโคนกิ่งแล้วทาแผลด้วยปูนแดง ปูนขาว หรือยากันเชื้อรา
การตัดแต่งกิ่งลำไยหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตมีประโยชน์มากเลยครับ เพราะนอกจากจะมีส่วนเร่งให้ลำไยแตกใบอ่อนแล้ว ยังเป็นการควบคุมทรงพุ่ม ซึ่งจะทำให้เกษตรกรมีความสะดวกต่อการดูแลรักษา ผลผลิตลำไยที่ได้จึงมีคุณภาพดี และที่สำคัญไปกว่านั้นยังทำให้ลำต้นของลำไยตอบสนองสารโปแตสเซี่ยมคอเรสได้เป็นอย่างดี ทรงพุ่มที่โปร่งแสงทำให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก แสงแดดสามารถส่องเข้าทั่วถึงทำให้ลำไยติดดอกออกผลมากขึ้น ผลมีความสมบูรณ์ ไม่มีโรคหรือแมลงรบกวน
2.ตัดแต่งกิ่งลำไยตามความจำเป็น
ขอแนะนำเกษตรกร หากเดินเข้าสวนลำไย ควรมีกรรไกตัดกิ่ง หรือเลื่อยสำหรับตัดกิ่งลำไยติดมือไปด้วย เพื่อตัดกิ่งลำไยที่ไม่สมบูรณ์ กิ่งที่เป็นโรคหรือมีแมลงออกทิ้งเสีย การตัดกิ่งต้องกระทำอย่างระมัดระวัง ไม่ให้กิ่งลำไยช้ำ ป้องกันไม่ให้เกิดการกระทบกระเทือนต่อการออกดอกของลำไย และที่สำคัญหลังตัดแต่งกิ่งลำไย ควรทาแผลด้วยปูนขาว ปูนแดง หรือยากันเชื้อราทุกครั้ง