วิธีแก้ลำไยไม่ออกดอก หรือออกดอกช้า

อาหารเสริมอินทรีย์เร่งการออกดอกสำหรับลำไย

ปัญหาลำไยไม่ออกดอก
ขอแนะนำสูตรเด็ดปุ๋ยแค็ปซูลนาโน ซึ่งเป็นอาหารเสริมสำหรับพืชสูตรผงสำหรับผสมน้ำฉีดพ่น อิมพอร์ตจากประเทศแคนนาดาครับ เป็นปุ๋ยนาโนธาตุใหม่ล่าสุด เป็นที่นิยมอย่างมากในหมู่เกษตรกร สามารถนำไปใช้เดี่ยว หรือใช้ร่วมกับอาหารเสริมจำพวกไคโตซานบำรุงพืชได้เป็นอย่างดี
ปุ๋ยแค็ปซูลนาโน เป็นธาตุอาหารชนิดผง ที่บรรจุในแค็ปซูล เกษตรกรสามารถนำไปผสมน้ำฉีดพ่นได้ทันที อัตราการใช้จำนวน 1 แค็ปซูลผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นได้ทุก 15 หรือ 30 วัน โดยใช้ร่วมกับเอ็นฟังก์ชั่น หรือบิ๊กโต(ไคโตซาน) จะมีส่วนช่วยยืดอายุของการแตกตัวเป็นพลังงานธาตุอาหาร เพื่อบำรุงพืชได้นานยิ่งขึ้น ช่วยเพิ่มการผลิดอกออกผล และต้านทานต่อโรค และแมลงได้เป็นอย่างดี
วิธีแก้ปัญหา ลำไยไม่ออกดอก ออกดอกช้า
ปัญหาลำไยออกดอกช้า
ลำไยไม่ออกดอก หรือออกดอกช้า อาจมีสาเหตุจากหลายปัจจัย หลักๆก็มีดังนี้ครับ
1.ประสิทธิภาพของสารเร่งการออกดอกไม่เพียงพอ อัตราการใช้ไม่เพียงพอ หรือใช้ไม่ถูกวิธี
2.สภาพอากาศไม่เหมาะสมเย็นจัด หรือ ร้อนจัด
3.สภาพดินไม่เหมาะสม ความเป็นกรด-ด่างของดินเปลี่ยนแปลงเร็ว
สภาพต่างๆเหล่านี้ล้วนมีผลต่อการออกดอกของลำไยทั้งสิ้น แนะนำให้ใช้อาหารเสริมพ่นทางใบช่วยโดยใช้แคปซูลนาโน ผสมน้ำฉีดพ่นและผสมน้ำราดรดโคนต้น ลำไยทันที ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้ลำไยเกิดตาดอกและเพิ่มประสิทธิภาพการออกดอกได้ผลดก การใช้ร่วมกับ YIC Nano Plus ชนิดน้ำ ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่ม และราดโคนต้น ต้นละ 5-10 ลิตร อัตราผสม 1 แค็ปซูลต่อน้ำ 20 ลิตร
หรืออาจใช้ร่วมกับสารเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึม YIC Nano Plus อัตรา 1 ซีซี -2 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นควบคู่กันไป ซึ่งจะช่วยฟื้นฟูต้นลำไยหลังชะงักการเจริญเติบโต อันเนื่องมาจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น น้ำท่วม ขาดน้ำ ร้อนจัด หนาวจัด ภาวะขาดสารอาหาร หรือหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต ช่วยให้ลำไยออกดอกก่อนกำหนด ติดผลดก ขั้วเหนียว รสอร่อย ราคาเป็นที่น่าพอใจอีกด้วย

หลักการใส่ปุ๋ยปรับสภาพดินในสวนลำไย

หลักการใส่ปุ๋ยปรับสภาพดินสวนลำไย

ปรับสภาพดินสวนลำไย
ปัจจุบันปุ๋ยเคมี มีวางจำหน่ายเกือบแทบทุกที่ แม้แต่ในหมู่บ้านก็ยังมีจำหน่ายให้หาซื้อกันอย่างสะดวกสบาย แต่เกษตรกรอย่าเผลอไปหลงเชื่อตามคำโฆษณา หรืออวดสรรพคุณเกินจริงนะครับ ด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัยสามารถทำให้เราได้รับรู้ข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว เราควรหาข้อมูลอ้างอิง เข้าหาแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือให้ได้มากที่สุด หากจะเชื่อขอให้เชื่อตามเอกสารของกรมวิชาการที่เกี่ยวข้องดีกว่าครับ เช่นกรมพัฒนาที่ดิน กรมการเกษตรต่างๆ เป็นต้น
ในบทความนี้ผมมีเกร็ดความรู้การใส่ปุ๋ยลำไยแบบประหยัดมาฝากกันครับ ทางที่ดีที่สุดการให้ปุ๋ยลำไยควรใส่ช่วงที่เราตัดแต่งกิ่งเสร็จแล้ว ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมัก ร่วมกับปุ๋ยเคมี สูตรเสมอ เช่นปุ๋ยสูตร 15:15:15 โดยใช้ในปริมาณแค่เพียงพอในการบำรุงต้นลำไย ใช้ปุ๋ยเคมี 20-30% ปุ๋ยอินทรีย์ 70% หรือจะใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักในปริมาณ 50 -100 กก ต่อต้นจะดีมากเลยครับ
ในกรณีต้องการถนอมดิน หรือไม่อยากให้ดินเสื่อมเร็ว แนะนำให้ใช้ปุ๋ยทางใบ (ฉีดพ่นทางใบ) ทดแทนปุ๋ยเคมีทางดินเพิ่มผลผลิต ปุ๋ยทางใบที่เป็นประเภทอาหารเสริมของพืชก็มีมากมายหลายชนิด เช่นปุ๋ยชีวภาพทางใบ หรือปุ๋ยสูตรไนโตรเจน ปุ๋ยเกร็ด สามารถนำมาละลายน้ำฉีดพ่นทางใบได้ทันที แถมยังทำให้ต้นลำไยมีภูมิต้านทานต่อโรคแมลงได้เป็นอย่างดีอีกด้วยครับ

3 วิธีง่ายๆ ตัดแต่งกิ่งลำไยเพิ่มผลผลิต

3 เทคนิคตัดแต่งกิ่งลำไย ช่วยเพิ่่มผลผลิต

ตัดแต่งกิ่งลำไย
ในฐานะที่เป็นเกษตรกรด้วยกัน ค้นคว้าหาข้อมูลทางด้านการเกษตรพบเจอสิ่งดีๆ ก็ต้องมาบอกกล่าวเล่าสู่กันฟังอย่างเคยครับ ในบทความนี้ขอแนะนำการตัดแต่งกิ่งลำไยอย่างถูกวิธี ไห้แก่เกษตรกรชาวสวนลำไย เพื่อลดต้นทุนเพิ่มผลผลิต พอเป็นวิทยาทานหรือแนวทางดังนี้ครับ 
1.ตัดแต่งกิ่งลำไยทรงสี่เหลี่ยม
เหมาะสำหรับตัดแต่งกิ่งลำไยที่มีอายุน้อย และมีระยะปลูกชิดกัน ตัดแต่งกิ่งโดยกำหนดไห้ต้นลำไยสูงประมาณ 2-3 เมตร โดยปักไม้ความยาวเท่ากับความสูงที่กำหนดไว้เป็นเกณฑ์ข้างต้นลำไย แล้วตัดส่วนบนให้เสมอ จากนั้นก็ตัดแต่งกิ่งข้างทรงพุ่มของลำไย หากมีทรงพุ่มใกล้จะชนกันก็ตัดให้ห่างกันเล็กน้อย (ประมาณ 20 - 30 เซนติเมตร)
2.ตัดแต่งกิ่งลำไยทรงเปิดกลางพุ่ม
เป็นทรงที่เกษตรกรชาวสวนลำไยนิยมทำกันทั่วไป โดยตัดกิ่งที่อยู่ตรงกลางพุ่มลำไยออกประมาณ 2-3 กิ่ง เพื่อให้แสงแดดส่องเข้าถึงและลดความสูงของต้น จากนั้นก็ตัดกิ่งทางด้านในทรงพุ่ม ที่ไม่ได้รับแสง แล้วตัดกิ่งขนาดใหญ่ข้างทรงพุ่ม เลือกตัดกิ่งที่เป็นโรค กิ่งที่แมลงกัดกิน กิ่งที่ซ้อนทับกัน กิ่งที่ไขว้กัน และกิ่งที่ชี้ลงออก แต่มีข้อเสียก็คือ การตัดทรงเปิดกลางพุ่มนี้จะชะลอความสูงของลำต้นลำไยได้ไม่นาน ทำให้เกษตรกรต้องเพิ่มทุนในการหาไม้ค้ำยันมากขึ้น
3. ตัดแต่งกิ่งลำไยทรงฝาชีหงาย
เป็นการตัดแต่งกิ่งที่นิยมของเกษตรกรในปัจจุบันมาก เพราะจะทำให้ลดต้นทุนในการค้ำยัน แถมยังสะดวกในการดูแลป้องกันโรคและแมลงอีกด้วย วิธีการก็คือ ให้ตัดแต่งกิ่งตรงกลางออกให้หมดเหลือไว้เฉพาะกิ่งที่โต และสมบูรณ์ในแนวระนาบ หรือแนวนอน (กิ่งกระโดงจึงจะผลิดอกออกผลได้ภายใน 4-6 เดือน)  การตัดแต่งกิ่งลำไยแบบฝาชีหงายควรทำในต้นฤดูฝน มิฉะนั้นจะทำให้กิ่งลำไยแตก การผลิดอกออกผลในปีแรกอาจจะให้ผลผลิตน้อยอยู่บ้าง แต่ปีต่อไปผลผลิตจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แถมลำไยจะมีผลดก สวยงามเป็นที่ต้องการของตลาด 

ตัดแต่งกิ่งลำใยช่วงไหนดี..มีคำตอบ

ตัดแต่งกิ่งลำไยช่วงไหนดี?..มีคำตอบ
่ตัดแต่งกิ่งลำไย
จุดประสงค์ของการตัดแต่งกิ่งของต้นไม้ทุกชนิด ก็เพื่อให้เกิดการโปร่งแสง(แสงแดดสามารถส่องผ่านได้ เป็นประโยชน์ต่อพืชในด้านการสังเคราะห์แสง) อากาศถ่ายเทได้สะดวก และลดการคายน้ำครับ ในบทความนี้ผมขอแนะนำการตัดแต่งกิ่งลำไย เพื่อช่วยให้เกิดทรงพุ่มโปร่งแสง สะดวกในการดูแล อีกทั้งยังป้องกันต้นลำไยโค่นล้มจากลมหรือพายุ และช่วยให้ลำไยมีผลดก ให้ผลอย่างสม่ำเสมอทุกปี
การตัดแต่งกิ่งลำไยมี 2 กรณีด้วยกัน คือ    
1.ตัดแต่งกิ่งประจำปี
คือเกษตรกรจะตัดแต่งกิ่งลำไยหลังจากเก็บผลผลิตจำหน่ายแล้ว โดยจะตัดกิ่งที่หักหรือไม่สมบูรณ์ก่อน หากเห็นว่ากิ่งใดไม่ออกดอกผลแล้วให้ตัดชิดโคนกิ่ง ส่วนกิ่งที่ต้องการให้แตกยอดใหม่
หลังจากเก็บผลผลิตแล้วให้ตัดเหลือไว้ให้ยาวประมาณ15-30 เซนติเมตร หรือมากกว่า ส่วนกิ่งที่สมควรตัดออกเสียก็คือกิ่งที่ไม่แข็งแรงและกิ่งกระโดง เกษตรกรควรตัดให้ชิดโคนกิ่งแล้วทาแผลด้วยปูนแดง ปูนขาว หรือยากันเชื้อรา
การตัดแต่งกิ่งลำไยหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตมีประโยชน์มากเลยครับ เพราะนอกจากจะมีส่วนเร่งให้ลำไยแตกใบอ่อนแล้ว ยังเป็นการควบคุมทรงพุ่ม ซึ่งจะทำให้เกษตรกรมีความสะดวกต่อการดูแลรักษา ผลผลิตลำไยที่ได้จึงมีคุณภาพดี และที่สำคัญไปกว่านั้นยังทำให้ลำต้นของลำไยตอบสนองสารโปแตสเซี่ยมคอเรสได้เป็นอย่างดี  ทรงพุ่มที่โปร่งแสงทำให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก แสงแดดสามารถส่องเข้าทั่วถึงทำให้ลำไยติดดอกออกผลมากขึ้น ผลมีความสมบูรณ์ ไม่มีโรคหรือแมลงรบกวน
2.ตัดแต่งกิ่งลำไยตามความจำเป็น
ขอแนะนำเกษตรกร หากเดินเข้าสวนลำไย ควรมีกรรไกตัดกิ่ง หรือเลื่อยสำหรับตัดกิ่งลำไยติดมือไปด้วย เพื่อตัดกิ่งลำไยที่ไม่สมบูรณ์ กิ่งที่เป็นโรคหรือมีแมลงออกทิ้งเสีย การตัดกิ่งต้องกระทำอย่างระมัดระวัง ไม่ให้กิ่งลำไยช้ำ ป้องกันไม่ให้เกิดการกระทบกระเทือนต่อการออกดอกของลำไย และที่สำคัญหลังตัดแต่งกิ่งลำไย ควรทาแผลด้วยปูนขาว ปูนแดง หรือยากันเชื้อราทุกครั้ง 

เทคนิคควบคุมทรงพุ่ม เพิ่มผลผลิตลำไย

เทคนิคควบคุมทรงพุ่มลำไย ลดต้นทุนเพิ่มผลผลิต
เพิ่มผลผลิตลำไย
ภาวะต้นทุนที่สูง เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกษตรกรชาวสวนลำไยจำนวนมากประสบกับภาวะขาดทุน  และในบทความนี้ขอบอกกล่าวเชิงเตือนอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกษตรกรมีต้นทุนที่สูงก็คือ ต้นลำไยมีทรงพุ่มสูง ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายทางด้านแรงงานในการเก็บเกี่ยวเพิ่มขึ้น  ยากต่อการพ่นสารป้องกันโรคแมลงเป็นต้น  
ทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้  โดยผศ.พาวิน  มะโนชัย จากภาควิชาพืชสวน คณะผลิตกรรมการเกษตร และอาจารย์ วรินทร์  สุทนต์  สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร ได้ทำการศึกษา ทดลองพบว่าหากเราควบคุมตัดแต่งกิ่งต้นลำไยให้มีขนาดทรงพุ่มที่พอเหมาะ จะส่งผลให้ลำไยมีคุณภาพผลผลิตเพิ่มขึ้น ช่วยลดต้นทุนการผลิต เพราะรูปทรงต้นขนาดเตี้ย เกษตรกรสามารถเก็บเกี่ยวและดูแลรักษาได้อย่างสะดวกสบาย  ซึ่งปัจจุบันผลงานวิจัยและผลการทดลองดังกล่าว ได้รับการยอมรับจากเกษตรกรที่ทดลองนำไปใช้ และพบว่าวิธีการดังกล่าวสามารถทำให้ผลผลิตลำไยมีคุณภาพสูงขึ้นและลดต้นทุนได้จริง..แล้วคุณผู้อ่านล่ะครับ..อยากลดต้นทุนเพิ่มผลผลิตแบบง่ายๆ ลองทำตามก็ไม่เสียหายนะครับ