โรคราดำ : ทำลายผลผลิตลำไย

โรคราดำ ทำลายผลผลิตลำไย

ศัตรูลำไย
ลำไยที่เป็นโรคราดำ
โรคราดำ ที่สร้างปัญหาให้กับผู้ปลูกลำไยนั้น เกิดจากการทำลายของแมลงพวกปากดูด เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย และเพลี้ยจักจั่น แล้วถ่ายน้ำหวานมาปกคลุมส่วนต่างๆ ของลำไย หลังจากนั้นเชื้อราที่มีอยู่ในอากาศโดยเฉพาะเชื้อรา Capnodium ramosum, Meliola euphoriae. จะปลิวมาขึ้นบนส่วนที่มีน้ำหวาน โดยสีดำของเชื้อราจะขึ้นปกคลุมใบ กิ่ง ช่อดอก และผิวของผลลำไย ทำให้เราเห็นเป็นคราบสีดำคล้ายเขม่า ส่วนใบลำไยที่ถูกเคลือบด้วยแผ่นคราบดำของเชื้อรานี้ เมื่อแห้งจะหลุดออกเป็นแผ่นได้ง่าย ตามปกติแล้วเชื้อราจะไม่ทำลายพืชโดยตรงครับ แต่จะไปลดการปรุงอาหารของใบลง ซึ่งอาการที่ปรากฏที่ช่อดอกลำไย หากรุนแรงอาจทำให้ดอกลำไยร่วงไม่สามารถผสมเกสรได้ จึงเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ดอกลำไยร่วง เพราะถูกเชื้อราดำเข้ามาเคลือบทำลายนั่นเอง

การป้องกันและกำจัด
แมลงปากดูด หรือเพลี้ยต่างๆ ที่เป็นศัตรูของลำไย สามารถป้องกันได้ โดยพ่นสารเคมีเช่น คาร์บาริล 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร อาจพ่นควบคู่กับสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น คอปเปอร์ออกซิคลอไรด์ หรือ ไซฟลูธริน 40 - 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ก็ได้


** ทางเลือกที่ปลอดภัย: ขอแนะนำให้ใช้น้ำหมักชีวภาพสูตรไล่แมลง **