แมลงค่อมทอง

แมลงค่อมทอง: กินยอดอ่อนและดอกลำไย

ศัตรูลำไย
แมลงค่อมทอง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hypomeces squamosus Fab เป็นแมลงจำพวกด้วงปีกแข็ง ตัวสีเหลืองถึงเขียวอ่อน มีปากเป็นงวงยื่นออกมาอย่างเห็นได้ชัด ชอบอาศัยอยู่ใต้ใบพืช หากเราโดนตัวมันเข้าแมลงค่อมทองจะทิ้งตัวลงทันที ตัวแก่จะวางไข่ไว้ในดิน เมื่อฟักและเจริญเติบโตเป็นระยะตัวหนอนจะอาศัยกินรากพืชที่อยู่ในดินและเป็นดักแด้อยู่ในดินจนกระทั่งเจริญเป็นตัวแก่ จึงจะออกมากัดกินพืชและทำการผสมพันธุ์ต่อไป ระยะเป็นไข่ใช้เวลา 10 - 11 วัน ระยะที่เป็นตัวหนอนจะใช้เวลาอยู่ในดินประมาณ 5 - 6 เดือน ระยะเป็นดักแด้ใช้เวลา 14 - 15 วัน

แมลงค่อมทองกอนยอดอ่อนลำไย
การทำลายผลผลิตลำไย
แมลงค่อมทองจะกัดกินใบอ่อนและดอกของลำไย ทำให้ต้นลำไยชะงักการเจริญเติบโต ดอกไม่เจริญ ศัตรูลำไยชนิดนี้พบมากในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถึงมีนาคม และจะลดน้อยลงไปเองตามธรรมชาติในช่วงเดือนเมษายน และพบน้อยที่สุดในช่วงฤดูฝน

วิธีป้องกันกำจัด
1. เขย่าต้นให้แมลงหล่นลงไปแล้วนำไปทำลาย
2. ใช้สารฆ่าแมลงพวกคาร์บาริล ในอัตรา 30 - 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือคาร์บาเมท (แลนเนท) ในอัตรา 10 - 15 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือหากพบว่ามีการระบาดมาก ก็ใช้ยาโมโนโครโตฟอส ในอัตรา 15 - 20 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร


** ทางเลือกที่ปลอดภัย แนะนำให้ใช้สารไล่แมลงที่หมักจากสมุนไพรในธรรมชาติ **