หนอนม้วนใบ: ทำลายยอดอ่อนและช่อดอกลำไย
ศัตรูลำไย
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของหนอนม้วนใบ คือ Archips
micaceana Walker ตัวเต็มวัยของหนอนม้วนใบ จะกลายเป็นผีเสื้อขนาดเล็กสีน้ำตาลแดง
หลังจากผสมพันธุ์แล้ว ผีเสื้อจะวางไข่เป็นกลุ่มๆ คล้ายเกล็ดปลา มีสีเหลืองอ่อน
กลุ่มหนึ่งจะมีไข่ประมาณ 70 - 200 ฟอง ระยะไข่ 5 - 9 วัน หนอนจะมีสีเหลืองปนเขียว
หัวสีน้ำตาลแดง มีตุ่มตามลำตัวแต่ละตุ่มจะมีขนเล็กสีขาว 1 - 2 เส้น
เมื่อโตเต็มที่ยาวประมาณ 1.3 - 1.5 ซม. ระยะที่เป็นหนอนจะใช้เวลา 14 - 48 วัน จากนั้นก็จะกลายเป็นดักแด้
(ในใบพืชที่ม้วน) ระยะที่เป็นดักแด้อยู่ในใบของพืชจะใช้เวลาประมาณ 5 - 7 วัน
ก็จะออกเป็นตัวเต็มวัย โดยศัตรูธรรมชาติชนิดนี้จะกัดกินใบอ่อนและช่อดอกลำไย
ตัวหนอนจะห่อม้วนใบลำไยเข้าหากัน หรือชักใยดึงเอาหลายๆ ใบมารวมกัน หรือดึงเอาช่อดอกเข้ามารวมกันแล้วอาศัยอยู่ภายใน
หากระบาดมากจะทำให้ยอดอ่อนและช่อดอกลำไยเสียหาย
วิธีป้องกันกำจัด
ผู้ปลูกลำไยควรหมั่นตรวจตามยอดอ่อนและช่อดอกเป็นประจำ
หากพบมีการระบาดให้เก็บออกหรือทำลายเสีย หรือหากพบว่า มีการระบาดรุนแรงมากควรฉีดพ่นด้วยสารโมโนโครโตฟอส
ในอัตรา 20 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือพ่นด้วยไพรีทรอยด์ อัตรา 10 ซีซี. ต่อน้ำ 20
ลิตร
** ทางเลือกที่ปลอดภัย:
ขอแนะนำให้ใช้น้ำหมักชีวภาพสูตรไล่แมลง **