มวนลำไย : ดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอดอ่อน

มวลลำไย หรือแมงแกงจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอดอ่อน

ศัตรูลำไย
มวลลำไยหรือแมงแกง
มวนลำไย  หรือที่ชาวบ้านทางภาคเหนือเรียก แมงแกง ตัวเต็มวัยจะมีสีน้ำตาลปนเหลือง รูปร่างลักษณะคล้ายโล่ มีขนาดยาวประมาณ 25 - 31 เซนติเมตร และส่วนกว้างประมาณ 15 - 17 ซม. มวลลำไยตัวเมียจะวางไข่เป็นกลุ่มตามใบ หรือเรียงตามก้านดอกของลำไย ไข่กลุ่มหนึ่งจะมีจำนวนโดยเฉลี่ย 14 ฟอง และจะฟักออกมาเป็นตัวอ่อนประมาณ 7 - 14 วัน ตัวอ่อนจะมีสีแดงมีการลอกคราบ 5 ครั้ง ระยะที่เป็นตัวอ่อนจะใช้เวลาประมาณ 61 - 74 จึงจะเจริญออกมาเป็นตัวเต็มวัย

โดยปกติทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของมวนลำไย จะทำความเสียหายให้กับลำไย โดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอดอ่อน ใบอ่อน ช่อดอก และผลอ่อนของลำไย ทำให้ยอดอ่อนและใบอ่อนแห้งเหี่ยว ดอกได้รับความเสียหายจนกระทั่งไม่ติดผล หรือทำให้ร่วงหล่นตั้งแต่ยังเล็ก มวลลำไยมีการระบาดอยู่บ่อยครั้ง ในแหล่งปลูกลำไยจังหวัดเชียงใหม่ และลำพูนโดยเฉพาะบริเวณสวนลำไย ตามแนวที่ราบลุ่มติดกับแม่น้ำปิง

ศัตรูธรรมชาติของมวลลำไย
ศัตรูธรรมชาติของมวนลำไยเท่าที่มีการสำรวจพบได้แก่ แตนเบียนไข่ Ooencyrtus sp. และ Anastatus sp. ซึ่งจะคอยเป็นตัวทำลายไข่ ของมวนลำไยตามธรรมชาติ

วิธีป้องกันกำจัด

1. ตัดแต่งกิ่งลำไยให้มีแสงผ่านได้ ไม่ให้ร่มหนาจนเกินไป เพราะจะเป็นที่หลบซ่อน และพักอาศัยของมวลลำไยตัวเต็มวัยได้ และพยายามจับตัวเต็มวัย ตัวอ่อน และไข่ไปทำลายเสีย
2. หากพบว่าระบาดมากให้ใช้ยาฆ่าแมลงจำพวก โมโนโครโตฟอส ฉีดพ่นในอัตรา 20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร หรือยาฆ่าแมลงคาร์บาริล อัตรา 45 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร โดยฉีดพ่นในช่วงเดือนมกราคม - เมษายน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ลำไยกำลังตั้งช่อดอกและติดผลพอดี เพราะช่วงดังกล่าว จะพบทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของมวลลำไย (สารฆ่าแมลงจำพวกคาร์บาริล จะใช้ได้ผลดีในระยะที่แมลงเป็นตัวอ่อนในวัย 1 - 2 เท่านั้น หากพ่นในช่วงเวลาอื่นจะไม่ได้ผล)


** ทางเลือกที่ปลอดภัย: แนะนำให้ใช้น้ำหมักชีวภาพสูตรไล่แมลง **