เทคนิคการใช้สารโพแทสเซียมคลอเรต

เทคนิคใช้สารโพแทสเซียมคลอเรต กระตุ้นการออกดอกของลำไย


ผมก็เป็นอีกคนหนึ่งครับ ที่สนใจและรักที่จะทำเกษตร โดยเฉพาะการปลูกลำไย สำหรับบทความที่เพื่อนๆ กำลังอ่านอยู่นี้ ผมได้รวบรวมตลอดถึงเสาะแสวงหาสาระดีๆที่มีประโยชน์ โดยได้ตระเวนสอบถามข้อมูลจากเจ้าของสวนลำไยบ้าง จากประสปการณ์ที่ผมได้ทดลองทำบ้าง สำหรับในบทความนี้ ก็มีสาระดีมาฝากเพื่อนๆ เกษตกรอีกเช่นเคยครับ เป็นเทคนิคในการใช้สารโพแทสเซียมคลอเรตให้ได้ประสิทธิภาพสูง มีรายละเอียดดังนี้ครับ

กระตุ้นการออกดอกลำไยด้วยสารโพแทสเซียมคลอเรต
ในการใช้สารโพแทสเซียมคลอเรตให้ได้ผลดีนั้น มี 4 ปัจจัยหลักสำคัญที่ต้องพิจารณาคือ

1. อายุของใบลำไย
เพราะระยะของใบลำไยที่เหมาะสมต่อการให้สาร ควรมีการแตกใบอ่อนประมาณ 2 รุ่น หรือมีอายุใบอย่างน้อย 3 สัปดาห์ขึ้นไปเป็นอย่างต่ำครับ

2. ปริมาณและฤดูกาลให้สารลำไย
ควรกำหนดปริมาณของสารให้เหมาะสมกับฤดูกาล เช่นช่วงฤดูหนาวควรให้สารในอัตราต่ำ ส่วนช่วงฤดูร้อนควรใช้สารในอัตราปานกลาง และฤดูฝนควรให้ในอัตราสูงเป็นต้น และที่สำคัญไม่ควรให้สารกับต้นลำไยที่มีอายุมากในช่วงฤดูฝน เพราะจะตอบสนองต่อสารได้ไม่ดีเท่ากับลำไยที่มีอายุน้อย

3. ช่วงเวลาที่ให้สารลำไย
จากการทดลองพบว่า ต้นลำไยที่ให้สารโพแทสเซียมคลอเรตในสภาพที่มีแสงแดดปานกลางจะออกดอกได้ดีกว่าในสภาพครึ้มฟ้าครึ้มฝน เพราะฉะนั้นเกษตรกรผู้ปลูกลำไย ควรหลีกเลี่ยงการให้สารโพแทสเซียมคลอเรตในช่วงครึ้มฟ้าครึ้มฝนหรือช่วงที่ฝนตกชุก

4. สายพันธุ์ลำไย
กล่าวคือลำไยพันธุ์สีชมพูจะตอบสนองต่อสารโพแทสเซียมคลอเรตได้ดีกว่าพันธุ์อีดอ เพราะฉะนั้นแล้วหากเกษตรกรผู้ปลูกลำไยจะใช้สารดังกล่าวกับลำไยพันธุ์อีดอ จึงควรลดปริมาณสารลงครึ่งหนึ่ง
และท้ายสุด ก็มีเทคนิคอยากแนะนำอีกอย่างนั่นก็คือ ในการให้สารโพแทสเซียมคลอเรตเพื่อกระตุ้นการออกดอกของลำไย ถึงแม้จะทำได้หลายวิธี เช่น ทางใบ ทางดิน แต่วิธีที่ได้ผลดีที่สุดก็คือ การให้ทางดินนั่นเองครับ..บทความหน้าจะพยายามสรรหาและนำเสนอสาระดีๆ มีประโยชน์แบบนี้ นำมาฝากกันอีก..อย่าลืมติดตามนะครับ

ที่มา: ข้อมูลที่ได้จากการสอบถามจากประสบการณ์จริงของชาวสวนลำไย จ.ลำพูน