ลำไย:
ที่เป็นโรคหงอย และโรคจุดสาหร่ายสนิม
ลำไยที่เป็นโรคหงอย
ต้นลำไยที่เป็น "โรคหงอย" ลำต้นจะซีดลง การเจริญเติบโตทางกิ่งน้อย
ใบเล็ก และคดงอ หากมองไกลๆ จะคล้ายใบลิ้นจี่
เมื่อตัดกิ่งของลำไยที่เป็นโรคนี้มาตรวจ จะพบว่าไส้กลางเป็นสีน้ำตาล
ชาวบ้านมักเรียกว่า โรคไส้ดำ โรคนี้มักเกิดกับต้นลำไยที่ออกดอกติดผลดีแล้ว สวนลำไยบางแห่งเจอปัญหานี้ทั้งในลำไยต้นเล็ก
และลำไยต้นที่โตแล้ว
สาเหตุของโรค
โรคหงอยที่เกิดกับต้นลำไย ยังไม่ทราบสาเหตุของโรคอย่างแน่ชัด
แต่ก็ยังมีการศึกษาค้นคว้า และทดลองอยู่
โรคจุดสาหร่ายสนิม
ลำไย
ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดที่ใบของลำไย คือ เกิดใบลำไยจะมีจุดค่อนข้างกลม
มีขนาด 0.5 - 1 ซม. แรกๆ
เป็นขุยสีเขียวต่อมาในระยะเกิดสปอร์จะเป็นสีแดงสีสนิมเหล็ก
ผิวมีลักษณะเป็นขุยคล้ายกำมะหยี่ หากเป็นที่ใบลำไยจะไม่รุนแรงมากนัก
แต่ความรุนแรงจะปรากฏที่กิ่ง โดยเฉพาะถ้าเป็นมากก็จะทำให้ต้นลำไยทรุดโทรมได้
กิ่งที่ถูกแสงจะถูกทำลายโดยเกิดเป็นขุยเช่นเดียวกับใบ คือจะเป็นจุดหรือเกิดต่อเนื่องเป็นขุยสนิมเหล็ก
ต่อมาขุยก็จะแห้งหายไป จุดที่ถูกทำลายเปลือกจะแตกและแห้งทำให้ใบลำไยเหลืองและร่วง ทั้งนี้เป็นเพราะรากเทียมของสาหร่ายเข้าไปชอนไชในเนื้อเยื่อ
ดูดกินน้ำเลี้ยงและเซลล์เน่าตาย ทำให้ส่วนนั้นแห้งตายไป
การแพร่ระบาด
ไม่ใช่เฉพาะต้นลำไยเท่านั้น โรคนี้ยังทำลายพืชได้หลายชนิด
ระบาดในที่ๆ มีความชื้นสูงโดยเฉพาะในฤดูฝน แพร่ระบาดโดยสปอร์จะปลิวไปตามลมนอกจากนี้
น้ำก็เป็นพาหะนำสปอร์ไปสู่ต้นอื่นได้เช่นเดียวกัน
การป้องกันและกำจัด
โรคนี้ชาวสวนลำไยสามารถป้องกัน
และกำจัดได้ด้วยการพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อราพวกสารประกอบของทองแดง เช่น
ค๊อปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร