โรคพุ่มไม้กวาด
โรคนี้ส่วนใหญ่มักเกิดกับลำไยพันธุ์เบี้ยวเขียวก้านอ่อน
ต้นลำไยที่เป็นโรคนี้ ลักษณะอาการจะเหมือนพุ่มไม้กวาด และต้นลำไยที่เป็นโรครุนแรงจะทรุดโทรมอย่างเห็นได้ชัด
จะออกดอกติดผลน้อย อาการจะปรากฏที่ส่วนยอดและส่วนที่เป็นตาของลำไย
โดยเริ่มแรกใบยอดจะแตกใบออกเป็นฝอย มีลักษณะเหมือนพุ่มไม้กวาด
ใบมีขนาดเล็กเรียวยาว ใบแข็งกระด้างไม่คลี่ออก กลายเป็นกระจุกสั้นๆ ขึ้นตามส่วนยอด
และลำไยที่เป็นโรคนี้เมื่อถึงคราวออกช่อดอก
ถ้าไม่รุนแรงก็จะออกช่อชนิดหนึ่งติดใบบนดอกและช่อสั้นๆ ซึ่งอาจติดผลได้ 4 - 5
ผลถ้าเป็นโรครุนแรงต้นจะออกดอกติดผลน้อย (พันธุ์ลำไยที่อ่อนแอต่อโรคนี้คือพันธุ์เบี้ยวเขียวก้านอ่อน)
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด
สาเหตุเกิดจากเชื้อมายโครพลาสมา (Mycroplasma)
แพร่ระบาดได้ทางกรรมพันธุ์คือ
สามารถแพร่ระบาดไปโดยการตอนกิ่งลำไยจากต้นที่เป็นโรคไปปลูก หรือจำหน่าย
โรคนี้มีแมลงพวกเพลี้ยจั๊กจั่นสีน้ำตาลเป็นพาหะนำเชื้อโรคไปสู่ลำไยต้นอื่นๆ
การป้องกันและกำจัด
1. สำหรับต้นลำไยที่เป็นโรคถ้าเป็นไม่มาก
ควรตัดกิ่งที่เป็นโรคนำมาเผาทำลายเสีย ทั้งนี้ชาวสวนลำไยจะต้องพร้อมใจกันและกำจัดทุกๆ
สวน เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคแพร่ระบาด
2. คัดเลือกกิ่งพันธุ์ลำไย จากต้นที่ไม่เป็นโรคไปปลูก
3.
ป้องกันแมลงจำพวกปากดูดพวกเพลี้ยจั๊กจั่นสีน้ำตาล โดยใช้สารเคมีเช่น ฟอสซ์ อัตรา
50 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ มิพซิน อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือลอร์สแมน
อัตรา 80 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นในช่วงระบาด
หรือใช้สารสกัดจากสมุนไพรธรรมชาติ
โรคราสีชมพู
โรคลำไย
ลำไยที่เป็นโรคนี้จะแสดงอาการที่กิ่ง โดยเฉพาะตรงง่ามของกิ่งหรือลำต้น
กิ่งลำไยที่เป็นโรคใบจะปรากฏสีเหลืองซีด และเมื่อโรครุนแรงอาจทำให้ใบร่วงเหลือแต่กิ่ง
บริเวณกิ่งที่ถูกทำลายจะมีคราบของเชื้อราสีขาวอมชมพูแผ่ขยายปกคลุมคล้ายทาด้วยสีชมพู
เมื่อกิ่งแห้งจะเห็นคราบนี้ชัดขึ้นเป็นสีชมพูหรือสีปูนแห้ง เมื่อผ่าตรวจดูเปลือกลำไยจะผุ
เนื้อไม้ยุ่ย และกิ่งลำไยจะแห้งตายไปในที่สุด ทั้งนี้เพราะเกิดคล้ายรากเทียมที่ใต้ผิวแผ่นเชื้อราที่แนบติดกับผิวของกิ่ง
เข้าดูดกินน้ำเลี้ยงและทำลายเนื้อเยื่อบริเวณนั้น
สาเหตุของโรคและการแพร่ระบาด
เกิดจากเชื้อรา Corticium
salmonicolor ระบาดในฤดูฝน โดยสปอร์ของเชื้อราจะระบาดไปกับลมและน้ำฝน
โดยเฉพาะกิ่งล่างของต้นลำไย มักจะถูกเชื้อรานี้เข้าทำลายเกิดเป็นโรคอยู่ทั่วไป
ทรงพุ่มที่หนาทึบ ย่อมจะช่วยส่งเสริมให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคนี้ได้มากและเร็วขึ้น
ผู้ปลูกลำไยควรตัดแต่งกิ่งบ้าง
การป้องกันและกำจัด
ควรตัดกิ่งลำไยที่เป็นโรคออกไปเผาทำลาย เพื่อลดปริมาณเชื้อโรคและให้มีการถ่ายเทอากาศดีขึ้น
แล้วพ่นด้วยสารเคมีตรงส่วนที่เป็นโรคด้วยคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 50 กรัมต่อน้ำ 20
ลิตร หรือเอดิเฟนฟอส 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือฉีดพ่นด้วยสารสกัดจากธรรมชาติ