แช่ลำไยในกรดเกลือ แก้ปัญหาซัลเฟอร์ตกค้างได้

ข่าวดีสำหรับชาวสวนลำไยส่งออก

นี่ก็เป็นอีกหนึ่งข่าวดีสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกลำไยเพื่อการส่งออกที่ผมนำมาฝากในวันนี้ ด้วยลำไยสดเป็นสินค้าเกษตรที่ไทยมีศักยภาพการผลิตและส่งออกสูง ซึ่งการส่งออกมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี และในปี 2556 ที่ผ่านมา ไทยมีปริมาณการส่งออกลำไยสดรวมทั้งสิ้น 413399.58 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 8503.24 ล้านบาท  และตั้งแต่เดือนมกราคม - มิถุนายน 2557 ได้มีการส่งออกลำไยสดแล้วกว่า 153200.50 ตันมีมูลค่า ประมาณ  3760.55 ล้านบาท ตลาดส่งออกสำคัญคือ จีน และอินโดนีเซีย แต่ปัญหาหลักในการเก็บรักษาผลผลิตลำไยก็คือ ลำไยมีอาายุการเก็บรักษาเพียง  2-3 วันเท่านั้น สีผิวเปลือกก็จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและเน่าเสียง่าย จึงมีการรมลำไยสดด้วยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เพื่อให้สีผืวเปลือกสวยและช่วยยืดอายุการเก็บรักษานานขึ้น

ลำไยส่งออก
คุณดำรง จิระสุทัศน์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตรกล่าวว่า ขณะที่การตรวจพบซัลเฟอร์ไดออกไซด์ตกค้างในลำไยส่งออกเกิน 50 ppm ยังพบอยู่เรื่อยๆ และเป็นประเด็นปัญหาในการส่งออก ซึ่งทั้งหมดเกิดจากการละเลิก ไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนวิธีการที่กรมวิชาการเกษตรกำหนด  รวมทั้งประเทศผู้นำเข้าบางประเทศไม่ยอมรับผลไม้ที่ผ่านรมก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ซึ่งเป็นข้อจำกัดในการส่งออกลำไยสดของไทยเรานั่นเอง

จากปัญหาดังกล่าวนี้เอง กรมวิชาการเกษตรได้เร่งดำเนินการวิจัยและพัฒนาหาเทคโนโลยีใหม่ทดแทนการรมก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในลำไยสด และหาวิธีลดการตกค้างของสารดังกล่าว ซึ่งผลวิจัยพบว่า ผลลำไยที่เปียกน้ำฝนหรือหมอกน้ำค้างช่วงฤดูหนาว ควรแช่ในกรดเกลือ 1 เปอร์เซนต์  ผสมโซเดียมเมตาซัลไฟต์ 5 เปอร์เซนต์ นาน5 นาที การตกค้างของสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์จะต่ำกว่าการรมปกติ
สำหรับการวิจัยหาเทคโนโลยีทดแทนการรมก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาลำไยสด พบว่า วิธีการเเช่ผลลำไยในกรดเกลือหรือกรดไฮโดรคลอริก เข้มข้น 6.4 เปอร์เซนต์ นาน 5 นาที แล้วผึ่งให้แห้งนี้ เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุด สามารถเก็บรักษาลำไยสดที่อุณหภูมิต่ำ 2-5 องศาเซลเซียสและความชื้นสัมพัทธ์ 85-90 เปอร์เซนต์ ได้นานถึง 35 วัน ที่สำคัญมีการตกค้างของสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ต่ำ และมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ซึ่งนำไปใช้กับประเทศนำเข้าที่เข้มงวดในการตรวจสารวัลเฟอร์ไดออกไซด์ได้ เช่น สิงคโปร์ แคนนาดา สหภาพยุโรป  และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น ทั้งยังประยุกต์ใช้กับลำไยที่ส่งออกไปจีนได้อีกด้วย และจากการที่กรมวิชาการเกษตรได้ทดสอบแช่ผลลำไยแช่กรดเกลือ พร้อมทดสอบออกลำไยแช่กรดเกลือทั้งในและนอกฤดูกาล พบว่า  ผู้ประกอบการโรงรมยอมรับเทคโนโลยีนี้และยอมรับคุณภาพสินค้ากว่า 82 เปอร์เซนต์  ขณะที่ผู้บริโภคให้การยอมรับคุณภาพสินค้ากว่า 82 % ขณะที่ผู้บริโภคให้การยอมรับคุณภาพถึง 80.15 %  และการทดสอบการส่งออกได้ผลเป็นที่น่าพอใจและกรมวิชาการเกษตรจะพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นเพื่อทดแทนการรมก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เพื่อแก้ปัญหาเรื่องสารตกค้างในลำไยสด และเป็นที่ยอมรับของประเทศคู่ค้า ซึ่งจะเอื้อประโยชน์ต่อการส่งออกลำใยสดในระยะยาวต่อไปครับ


ที่มา: นิติยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น