ผีเสื้อมวนหวาน

ผีเสื้อมวนหวาน : หนอนกินดอกลำไย

ศัตรูลำไย
หนอนผีเสื้อ:กินดอกลำไย
ศัตรูลำไย ชนิดนี้มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Eublemma versicolora ทางภาคเหนือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กำเบ้อแดง ลักษณะตัวหนอนจะมีสีน้ำตาลอ่อนหัวสีดำ ขนาดยาว 1.5 - 2.0 ซม. ตัวอ้วนใหญ่ ระยะตัวอ่อน จะใช้เวลาประมาณ 14 - 16 วัน ระยะเข้าดักแด้ 6 - 8 วัน เมื่อโตเต็มที่ขนาดของตัวและกางปีกออกแล้วประมาณ 2 - 3 ซม. ปีกมีสีน้ำตาลปนเทา ทั้งปีกคู่หน้าและคู่หลังมีทางสีน้ำตาลเข้มพาดยาวๆ จนถึงกลางปีกผีเสื้อชนิดนี้จะออกหากินในเวลากลางคืน ช่วงเวลาประมาณ 20.00 – 24.00 น. เป็นเวลาที่พบมากที่สุด

การทำลายผลผลิตลำไย
ส่วนตัวหนอนจะกัดกินดอกลำไย โดยใช้ขี้หนอนและใยทำเป็นทางสีน้ำตาลไปตามกิ่งหรือช่อดอก ทั้งนี้เพื่อทำเป็นสัญลักษณ์ว่าตัวหนอนกินไปถึงทางไหนจะมีทางไปถึงนั่น ซึ่งจะสังเกตได้ง่าย หนอนจะทำลายดอกลำไยจนหมด ส่วนมากจะพบการระบาดในระยะที่ผลลำไยเริ่มแก่และใกล้เก็บเกี่ยว ศัตรูลำไยชนิดนี้จะทำลายผลโดยการใช้ส่วนของปาก (Proboscis) เจาะแทงเข้าไปในผลลำไยที่ใกล้สุกหรือผลลำไยที่สุกแล้ว ในส่วนของลำไยเมื่อถูกผีเสื้อมวนหวานดูดกินแล้ว จะร่วงภายใน 3 - 4 วัน หากเรานำผลลำไยที่ร่วงมาบีบดู จะสังเกตเห็นน้ำหวานไหลเยิ้มออกมาตามรูที่ถูกเจาะ และเมื่อแกะผลลำไยดู จะพบว่าเนื้อในของลำไยจะเน่าเสียเสียหาย เนื่องจากเชื้อโรคหรือเชื้อยีสต์เข้าทำลาย

วิธีป้องกันกำจัด
หากพบเห็นตามช่อดอกลำไย ให้ทำลายเสีย หรือหากพบว่ามีการระบาดมาก ควรใช้ยาฆ่าแมลงโมโนโครโตฟอส ในอัตรา 15 - 20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น แต่ต้องฉีดพ่นในระยะที่ดอกลำไยยังไม่บาน

** ทางเลือกที่ปลอดภัย แนะนำให้ใช้สารไล่แมลงที่หมักจากสมุนไพรในธรรมชาติ **