หนอนคืบกินใบ:
กัดกินใบอ่อนทำให้ยอดชะงักการเจริญเติบโต
ศัตรูลำไย
หนอนคืบกินใบ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “แมลงบุ้งลำไย”
มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Oxyodes scrobicularta Fabr ตัวแก่เป็นผีเสื้อกลางคืน จะกินผลลำไยและลิ้นจี่เป็นอาหาร ลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อน
คู่ที่สองจะเป็นสีน้ำตาลลายดำ ขอบปีกด้านบนเป็นแถบสีดำ
ขนาดของผีเสื้อกางปีกกว้างประมาณ 5 ซม. ลำตัวมีขนสีเหลืองปกคลุม
ตัวผู้และตัวเมียมีขนาดไล่เลี่ยกัน โดยตัวเมียจะวางไข่ไว้เดี่ยวๆ
ไข่มีขนาดเล็กกลมสีขาวไม่มีสิ่งปกคลุม และมักจะไข่ไว้บนยอดอ่อนและใบอ่อนของลำไย
หนอนชนิดนี้เมื่อฟักไข่ออกมาใหม่ๆแล้ว ตัวจะมีสีเขียวอ่อน
เมื่อโตขึ้นจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองปนน้ำตาล มีแถบสีน้ำตาลตลอดลำตัว
ขนาดตัวหนอนที่โตเต็มที่ยาวประมาณ 3 - 4 ซม. ระยะที่เป็นตัวหนอนจะใช้เวลาประมาณ 9
- 14 วัน ตัวหนอนจะเข้าทำลายใบอ่อนและยอดอ่อนลำไย ทำให้ได้รับความเสียหาย และหนอนผีเสื้อชนิดนี้พบว่ามีการระบาดอยู่ทั่วไปตามแหล่งปลูกลำไยและลิ้นจี่
โดยเฉพาะระยะที่ลำไยแตกยอดอ่อน (ระหว่างเดือนกรกฎาคม - ตุลาคม) จะทำลายโดยกัดกินใบอ่อนของลำไยให้ได้รับความเสียหาย
ทำให้ยอดชะงักการเจริญเติบโตจนถึงขั้นไม่ติดดอก ออกผล เลยทีเดียว
วิธีป้องกันกำจัด
1. เขย่ากิ่งลำไยให้หนอนหล่นลงพื้น แล้วเก็บทำลายหรือจะนำไปเป็นอาหารสัตว์เลี้ยง
เช่น เป็ด ไก่ ก็ได้
2. ในช่วงที่ลำไยแตกยอดอ่อน หากพบว่ามีการระบาด
ควรจะพ่นสารจำพวก คาร์บาริลในอัตรา 30 - 45 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือหากพบว่าหนอนมีการระบาดมาก
ทำความเสียหายให้อย่างรุนแรง ควรพ่นด้วยยาฆ่าแมลงจำพวกโมโนโครโตฟอสในอัตรา 15
ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ก็สามารถป้องกันและกำจัดได้
** ทางเลือกที่ปลอดภัย:
ขอแนะนำให้ใช้น้ำหมักชีวภาพสูตรไล่แมลง **